ปัจจุบันครีมกันแดดที่ขายกันทั่วไปในห้างสรรพสินค้า หรือ ตามร้านค้า มีบางยี่ห้อบอกว่า มี SPF ที่ 130 และนอกจากนั้นถ้าคุณสังเกตเพิ่มอีกจะพบว่า มีสัญลักษณ์คำว่า “PA” แสดงหลังค่า SPF อยู่ เช่น SPF15 PA++ แล้ว “SPF” มันคืออะไร แล้วยังจะ “PA” อีกล่ะมันบอกอะไร แล้วเรามาเรียนรู้กันว่า เราควรใช้ SPF ที่มีค่าสูง ๆ หรือไม่?
ครีมกันแดด ทำงานอย่างไร
ส่วนผสมในครีมกันแดดจะทำหน้าที่ในการปกป้องผิวจากรังสี UV ด้วยการดูดซับรังสี ,ป้องกันแสง UV ไม่ให้ผ่านเข้าไปถึงชั้นผิว หรือทำให้รังสี UV แตกกระจายออกไปเพื่อไม่ให้เข้าทำร้ายผิวโดยตรง สำหรับคำแนะนำในการใช้ครีมกันแดด ครีมกันแดด ที่ดีที่สุด คือครีมกันแดดที่สามารถที่จะป้องกันแสง UV ได้เพียงพอ(ซึ่งอาจจะขึ้นกับความแรงของแสง) เพื่อให้ได้ผลดีที่สุด ควรทาครีมกันแดดก่อนออกไปสู่ที่มีแสงแดด 30 นาที(ส่วนใหญ่มักจะพบคำแนะนำนี้ตามขวดของครีมกันแดดกันนะ)
แล้ว SPF คืออะไร
SPF ย่อมาจาก Sun Protection Factor โดยค่าของการปกป้องแสงแดด ถูกกำหนดด้วยระบบของ SPF เอง โดยส่วนใหญ่จะคำนวณจากปริมาณจากการป้องกันรังสี UVB
ตัวเลขของ SPF บ่งบอกถึงความสามารถในการปกป้องผิวจากการถูกเผาไหม้จากแสงแดด ได้นานเท่าไหร่ เช่น SPF15 หมายถึง ป้องกันผิวจากการไหม้ได้ 15 เท่า เช่น ปกติคุณออกไปสู่แดดโดยไมได้ทาครีมกันแดดแล้วผิวไหม้ภายใน 20 นาที ถ้าหาก ทาครีมกันแดด SPF15 แล้ว จะทำให้การที่ผิวจะถูกแสดงแดดทำลายผิวให้ไหม้นั้น ต้องใช้เวลา เป็น 15 เท่าของ 20 นาที หรือ ประมาณ 300 นาที(5 ชั่วโมง) ผิวถึงจะถูกไหม้จากแสงแดด(ปกติถ้าไม่ใช่งานกลางแจ้งแล้วก็คงไม่ออกไปหาแดด ถึง 5 ชั่วโมงหรอกนะ ร้อนจะตาย )
ทำไม SPF สูง ก็ไม่ได้ดีกว่าเสมอไป โดยทั่วไป ครีมกันแดด SPF ประมาณ 15 ก็เพียงพอแล้วสำหรับคนทั่ว ๆ ไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนในแถบเอเชียอย่างเรา แต่สำหรับคนที่ผิวไวต่อแดด หรือถูกผิวถูแผดเผาให้หมองคล้ำได้ง่ายนั้น ใช้ SPF 30 ก็ถือว่าเพียงพอที่จะปกป้องผิวได้แล้ว แต่ถ้าอยากใช้ที่มีค่า SPF เยอะกว่านี้ ก็ไม่ว่ากันค่ะ
1. การใช้ค่า MED นี้ อาจไม่สะท้อนถึงประสิทธิภาพภายในการป้องกันผิวหนัง จากการทำลายของแสงแดด นั่นคือยากันแดดถึงจะป้องกันไม่ให้ผิวหนังแดงได้ แต่ก็ยังอาจเกิดการเสื่อมของผิวหนังขึ้นแล้ว
2. ปริมาณของการใช้ยากันแดดในการหาค่ามาตรฐาน คือ ต้องทายากันแดด 2 มิลลิกรัมต่อเนื้อที่ผิวหนัง 1 ตารางเซนติเมตรนั้น นับว่ามากกว่าปริมาณการใช้ในชีวิตจริง คนปกติจะทายากันแดดแค่ 0.5 ถึง 1 มิลลิกรัมต่อเนื้อที่ผิวหนัง 1 ตารางเซนติเมตรเท่านั้น ทั้งนี้เพราะ หากทายากันแดดมากไปจะเกิดปัญหาด้านความมันและความสวยงาม
สำหรับยากันแดดชนิดที่ละลายน้ำได้น้อยนั้น มีชื่อคือ Water resistant หมายถึงการหาค่า SPF หลังอยู่ในน้ำ 40 นาที
Waterproof (=very water resistant) หมายถึงการหาค่า SPF หลังอยู่ในน้ำ 80 นาที
โดยการใช้ยากันแดดตามค่า SPF นี้มักดูตามลักษณะของสีผิวคือ
1. ถ้าผิวไหม้แดดง่าย โดยผิวเปลี่ยนเป็นสีแทนยาก ใช้ค่า SPF 20-30 (Ultra high)
2. ถ้าผิวไหม้แดดง่าย โดยผิวอาจมีสีแทนนิดหน่อย ใช่ค่า SPF 12-20 (Very high)
3. ถ้าผิวไหม้แดดปานกลาง และผิวค่อยๆ เปลี่ยนเป็นสีแทนใช้ค่า SPF 8-12 (High)
4. ถ้าผิวไหม้แดดได้น้อย และผิวเปลี่ยนเป็นสีแทนได้เสมอ ใช่ค่า SPF 4-8 (Moderate)
5. ถ้าผิวไหม้แดดยากมาก และผิวเปลี่ยนเป็นสีแทนได้อย่างมาก ใช้ค่า SPF 2-4 (Minimal)
ถ้าดูตามนี้จริงๆ แล้ว อย่างผมซึ่งน่าจะจัดว่าอยู่ในกลุ่มที่ 5 คือโดนแดดอย่างไร ก็ไม่ไหม้เสียที จะมีก็แต่ผิวคล้ำดำปี๋ ก็ควรจะใช้ SPF แค่ 2-4 เท่านั้นเอง
เมื่อดูจากค่า SPF และปริมาณการดูดซับรังสียูวีบี พบว่า
ค่า SPF เท่ากับ 2 จะดูดซับ UVB ได้ 50%
ค่า SPF เท่ากับ 4 จะดูดซับ UVB ได้ 75%
ค่า SPF เท่ากับ 8 จะดูดซับ UVB ได้ 87.5%
ค่า SPF เท่ากับ 15 จะดูดซับ UVB ได้ 93.3%
ค่า SPF เท่ากับ 20 จะดูดซับ UVB ได้ 95%
ค่า SPF เท่ากับ 30 จะดูดซับ UVB ได้ 96.7%
ค่า SPF เท่ากับ 45 จะดูดซับ UVB ได้ 97.8%
ค่า SPF เท่ากับ 50 จะดูดซับ UVB ได้ 98%
จะเห็นว่า ค่า SPF หลังจาก 30 แล้ว ค่าที่จะป้องกัน แสง UV ก็ไมได้เพิ่มขึ้นมากเท่ากับ SPF ที่เพิ่มขึ้น
เมื่อผู้บริโภคตระหนักถึงความสำคัญของครีมกันแดดแล้ว ก็จะคิดว่า ถ้าหากค่า SPF สูง ๆ ย่อมที่จะป้องกันแสงแดดได้ดีกว่าแน่นอน เราจึงเห็นครีมกันแดดที่มีค่า SPF มากกว่า 100 ขายกันอยู่ เพื่อเป็นจุดขาย ซึ่งเป็นเรื่องที่ดูตลกมากๆ
ค่า SPF สูง ๆ นั้น ไม่ได้หมายความว่า จะปกป้องแสดงแดดได้ดีไปกว่า ค่า SPF ที่ต่ำกว่า ในความเป็นจริงแล้ว ค่า SPF สูง ๆ นั้นจะก่อให้เกิดการระคายเคืองต่อผิวหนังสำหรับคนที่มีผิวแพ้ง่าย และยังเป็นไปไปได้ว่าอาจจะมีผลข้างเคียงที่อาจจะก่อให้เกิดอาการแพ้เช่นอาจจะเกิดผดผื่นคันได้ นอกจากนี้ยังอาจจะทำให้สีผิวของเราไม่สม่ำเสมอ เกิดรอยด่างขึ้นได้ และยังอาจจะทำให้เสื้อผ้าเป็นคราบสีเหลืองติดเสื้อผ้าอีกด้วย
จึงแนะนำว่าควรใช้ยากันแดดค่า SPF สูง (15 ขึ้นไป) ในกรณีที่ต้องตากแดด เป็นเวลานานติดต่อกันและใช้ค่า SPF ต่ำ ในกรณีที่โดนแดดเป็นครั้งคราวระหว่างวัน
PA คืออะไร
ครีมกันแดดใหม่ ๆ ที่วางขายกันในตลาดมักประกอบไปด้วย UVA Filter และค่าที่วัดการป้องกันรังสี UVA เรียกว่า PA
PA ย่อมาจากคำว่า Protection Grade of UVA ในขณะนี้ยังไม่มีหน่วยวัดที่เป็นมาตรฐานในการวัดค่าการดูดซืมของรังสี UVA ดังนั้นจึงถือเอาคำว่า PA เป็นหน่วยวัดรังสี UVA อย่างไม่เป็นทางการ
ค่า PA นั้นจะมี 3 ระดับคือ PA+,PA++ และ PA+++
PA+++ นั้นสำหรับผู้ที่ต้องการ การปกป้องสูง (เจอกับแสงแดดจัด ๆ เป็นเวลานาน) PA+ สำหรับผู้ที่ต้องการปกปกแสงแดด จากกิจกรรมทั่ว ๆไป (อาจจะไม่ได้เจอกับแสงมากนัก)
ดังนั้นสำหรับใครที่จะต้องเจอกับแสงแดดเป็นเวลาหลายชั่วโมง ให้เลือก PA++ หรือ สูงกว่านี้
ที่มา ... shoppinglifestyle.com
การประชุมของสมาคมศิษย์เก่าสถาบันโรคผิวหนัง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น